นิทานอะไรเอย

กลุ่มที่5 ปฏิบัติตตามคำสั่ง...

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 12

บันทึกครั้งที่ 12
จาการสอบเมื่อวัน อังคารที่ 2 มีนาคม 2553 สรุปได้ว่า
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยท่านต้องศึกษาในเรื่องใดบ้าง
- พัฒนาการของเด็ก เราต้องคำนึงเป็นอย่างแรกว่า ต้องให้เด็กทำอะไรต้องให้สอดคล้องกับวัยและพัฒนาการของเขา ในภาษาสำหรับเด็กนั้นจะพัฒนาได้ไปเรื่อยๆ ไปตามธรรมชาติของเขา
2. การจัดประสบการณืทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์อะไร
-เพื่อต้องการให้เด็กมีทักษะทางภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม
-เพื่อต้องการส่งเสริมพัฒนาภาษาของเด็ก
-เพื่อต้องการฝึกให้ได้ใช้ภาษาที่ถูกต้อง
3.หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง
- ต้องเลือกกิจกรรมที่เด็กสนใจ ง่าย ควรให้เด็กได้มีการออกเสียง มีการแสดงความรู้สึกนึกคิดของเด็ก
มีการใช้ภาษาที่ง่าย พูดซำๆทำให้เด็กออกเสียงคำเดิมๆทำให้เด็กกล้าที่จะแสดงออก ซึ่งวิธีเหล่านี้เราจะช่วยเขาได้ โดยฟังจากประสบการณ์รอบตัว เช่น โฆษณา บทความต่างๆ หนังสือนิทาน
4. ท่านมีแนวทางในการให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาได้อย่างไรบ้าง
-ผุ้ปกครองเป็นบุคคลแรกที่จะช่วยเด็กได้ดีรองจากพ่อแม่

.1 พ่อแม่ควรพูดให้ชัดเจน ออกเสียงให้ชัด พูดให้ถูกต้อง ไม่ใช้คำล้อเลียนเด็กโดยการแกล้งพูดไม่ชัด หรือพูดภาษาของเด็ก และควรใช้ภาษาที่ซับซ้อนขึ้นตามลำดับเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าทางภาษาของเด็ก
2. พ่อแม่ควรใช้ภาษาให้เหมาะกับวัยของเด็กและควรพูดกับเด็กบ่อยๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ จดจำคำศัพท์ได้มากขึ้น
4. พ่อแม่ควรให้เวลากับเด็กอย่างน้อยวันละประมาณ 15 นาที ในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง โดยมีภาพประกอบ มีการสนทนาซักถามโต้ตอบ
5. จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าสนใจ มีมุมหนังสือ หนัง
สือภาพ หนังสือนิทาน วิทยุและสื่ออื่นๆที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษา ทำให้เด็กเกิดสนใจภาษา
5.ให้ท่านเลือกกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาที่ท่านชอบที่สุดพร้อมให้เหตุผล
- ชื่อ กิจกรรมเล่านิทาน
- วัตถุประสงค์ ต้องการให้เด็กมีพัฒนาการไปตามวัย
ต้องการให้เด็กฝึกการฟังและฝึกการจับใจความ
ต้องการให้เด็กเห็นภาพประกอบไปกับการเล่า
- กิจกรรม ควรเลือกหนังสือนิทานให้ตรงตามวัย วัยไหนควรมีหนังสือแบบใด มีภาพเยอะกว่าตัวหนังสือ หรือ ตัวหนังสือเยอะกว่าตัวภาพ ควรจะเลือกให้ตรงตามวัย เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการไปตามวัย
-ประเมินผล เด็กสามรถลำดับเหตุการณืถูกต้องไหม สามารถตอบตัวละครได้มากน้อยแค่ไหน พัฒนาเป็นไปตามวัยของเขาไหม
เหตุผลที่เลือก เพราะนิทานเป็นจุดเริ่มต้นของเด็ก และเด็กแต่ละคนชอบที่จะฟังนิทานด้วย

บันทึกครั้งที่ 11

บันทึกครั้งที่ 11 วันศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 ( เป็นการเรียนครั้งสุดท้าย)
จากการเรียนวิชานี้ได้อะไรมากมาย ได้เรียนรู้จริง ปฎิบัติจริง สามารถนำไปใช้ได้จริง ได้รู้ว่าเวลาที่เรียนตามทฤษฎีกับการลงมือปฎิบัติจริง เวลาเรียนทฤษฏีก็คิดว่าเรียนแบบง่ายไม่มีอะไรมาก แต่เวลาที่ปฏิบัติจริงมันต้องเข้าใจในตัวเด็กมากยิ่งขึ้น เหมือนกับเวลาที่เราไปทำอะไรเราต้องเข้าไปนั่งในตัวเด็ก ถึงจะเข้าใจความรู้สึกของเขา
บรรยากาศในห้องเรียน เป็นไปแบบสบายๆไม่เครียดจนเกินไป ชอบการเรียนแบบนี้ค่ะ

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บักทึกครั้งที่ 10

บันทึกครั้งที่10

วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553

สืบเนื่องสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ให้ไปหานิทานเรื่อง "แม่ไก่สีแดง"แล้วให้ไปเลือกนิทานขึ้นมา 1 เรื่อง แล้วทำมายแม็พให้สอดคล้องกับเนื้อหา แล้วหา 1 เพลงให้สอดคล้องกันด้วย งานชิ้นนี้ 2 คนต่อ 1 ชิ้น

ส่งนิทานเรื่อง ลูกไก่ตามหาแม่

โดย นางสาวศุภาพร เครือสายใจ 5111207865

นางสาวจันทร์จีรา ภักดิ์เจริญ 5111207873



วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 9





บันทึกครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553

มีการนำเสนอ (ต่อ) จากอาทิตย์ที่แล้ว
- มีการเล่านิทานโดยมีภาพประกอบ ในการเล่าตามภาพประกอบจะต้องใช่คำถามที่อยู่ในเรื่องที่นิทานเรานำมาเล่าให้กับเด็ก เช่น เริ่องวันโชคดี เราควรจะมีการใช้คำถามที่เชิญขวนให้เด็กได้ตอบ เช่น ในนิทานเรื่องนี้มีสัตว์อะไรกันบ้างค่ะ
- การเล่านิทานที่มีพยัญชนะเข้าไปใช้ ในการเล่านิทานในเรื่องนี้เราจะต้องเชื่อมโยงบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นๆได้ เช่น เราเล่านิทานให้กับเด็กแล้วเราก็ควรมีการถามคำถามเด็กๆ เช่น เด็กๆลองดูซิค่ะว่าในหน้านี้มีพยัญชนะตัวไหนบ้างที่สะกดด้วย ก เด็กก็จะมีการแย่งกันตอบ เหมือนเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กได้แสดงความสามารถของตนเอง
- การปฏิบัติตามคำสั่ง คือ จะต้องเป็นคำสั่งไม่ใช้เป็นประโยชน์คำถาม เป็นกลุ่มของหนูเอง อาจารย์ก็จะแนะนำให้ไปเพิ่มเติมนิดหน่อย และการที่จะให้เด็กปฏิบัติเราไม่จะมีสิ่งของล่อเพราะเป็นการสอนเด็กไม่ถูกต้อง
-นิทานประกอบภาพ จะต้องไปแก้มาใหม่ทุกกลุ่มจะต้องไปปรับแก้มาใหม่
บรรยากาศในห้องคอมพิวเตอร์ช้ามาก บรรยากาศก็ดี สบายๆไม่เครียดจนเกินไป

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่8

บันทึกครั้งที่ 8
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2553
มีการนำเสนอผลงานที่ได้ไปทำกิจกรรมกับเด็กที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเป็นกลุ่ม มีการร่วมแสดงความคิดเห็นกันภายในห้อง อาจารย์มีการเสนอแนะข้อที่ผิดพลาดหรือเพิ่มเติมภายในกลุ่ม บรรยากาศในห้องเป็นไปด้วยดี อากาศสบายๆไม่เครียดจนเกินไป สนุกกับการเรียน ได้แชร์ความคิดกันในกลุ่มทำให้ความรู้เพิ่มจาการที่เราคิดกันในห้อง

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2553
อาจารย์ตรวจงานเกี่ยวกับปริศนาคำทาย ทำเป็นพาวเวอร์พอท์ อาจารย์บอกให้แก้งานให้ถูกต้อง แนะนำวิธีงานที่ถูกต้อง
สั่งงาน อาทิตย์หน้าให้รายงานพาวเวอร์เรื่องการเข้าไปเล่านิทานของน้อง

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

บันทึครั้งที่ 6

บันทึกครั้งที่ 6
เมื่อวันอังคารที่ 19 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาศไปดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน
รู้ถึงวิธีกการสอน เทคนิคการสอน ไปสังเกตว่าเด็กมีการตอบสนองในการเรียนมากน้อยแค่ไหน เวลาที่ครูสอนเด็กวิธีการสอนอะไรบ้าง ได้เห็นสภาพจริงๆของการเรียนการสอนของเด็กอนุบาลจริงๆ ได้สัมผัสกับเด็กจริงๆ รู้ว่าเด็กน่ารักมาก แรกๆเด็กจะมีการเก็งกับเรามาก แต่พอไปสักพักเด็กเข้ามาหา ในการไปดูงานในครั้งนี้ได้รับความรู้มาก มีการตั้งคำถามและมีอาจารย์ตอบให้ การต้อนรับในการไปในครั้งนี้สมบูรณ์ มีอัธยาศัยที่ทุกคน